วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 16 วันที่ 11 มีนาคม 2555













วันนี้ ดิฉันได้สอบปฏิบัติการสอนสอน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หน่วย ผลไม้ เรื่อง ขั้นตอนก่อนการรับประทานผลไม้ที่ถูกวิธี

ขั้นนำ

-ครูท่องคำคล้องจอง ผลไม้ แล้วให้เด็กท่องตาม

ขั้นสอน

1.ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับผลไม้ในคำคล้องจอง

2.ครูใช้คำถามกับเด็ก เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กสนใจและแสดงความคิดเห็น เช่น

-เด็กๆเคยทานผลไม้มั้ยคะ

-แล้วก่อนทานผลไม้เด็กๆ ทำอย่างไรก่อน

-แล้วผลไม้ที่มีเมล็ด เด็กๆต้องคายเมล็ดออกด้วยนะคะ เพราะถ้าเด็ๆกลืนเมล็ดลงไปอาจติดคอเด็กๆจะเป็นอันตรายได้นะคะ
-ผลไม้ที่มีเปลือก เช่น แตงโม มะม่วง ก่อนรับประทานต้องล้างก่อนใช่มั้ยคะ

-ผลไม้ทีมีเปลือกแต่ทานเปลือกไดด้วยเช่น ฝรั่ง เด็กต้องล้างก่อนนะคะเพราะเราไม่รู้ว่าผลไม้เหล่านี้จะมีฝุ่นละออง หรือเศษดินที่เรามองไม่เห็นติดมาด้วยนะคะ
แล้วการล้างผลไม้ที่ถูกวิธี คือ ต้องล้างผ่านน้ำไหลนะคะ

3. ครูสาธิตการล้างผลไม้ให้เด็กๆดู และให้เด็กๆส่งตัวแทนออกมาล้างผลไม้

ขั้นสรุป

ครูและเด็กร่วมกันสรุป การับประทานผลไม้ และท่องคำคล้องจองผลไม้อีกครั้ง





ครั้งที่ 15 วันที่ 6 มีนาคม 2555

อาจารย์ได้นัด วันสอบสอน และได้บอกเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
1.แผนการสอนตรงตามกรอบมาตรฐาน หรือไม่
2.การสอน - การบูรณาการ
- สื่อ
-เทคนิค
-การประเมิณ
อาจารย์ได้ยกตัวอย่าง คำคล้องจอง เพลง ของเพื่อนให้ดูเพื่อเป็นแนวทางในการเขียนคำคล้องจองให้ถูกต้อง พร้อมทั้งบอกเทคนิคการสอนว่า เราต้องมีเทคนิค วิธีการพูด การใช้ภาษาดึงดูดให้เด็กซื้อตั๋วเรา และ สนใจเรา เพราะถ้าเด็กซื้อตั๋วมาแล้วเราสอนไม่ดี เ ไม่น่าสนใจ ด็กก็จะคืนตั๋วเรา

ครั้งที่ 14 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555

วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับมาตรฐานตัวชี้วัดทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-การวัด:หาค่าปริมาณ
-การเปรียบเทียบ:การเปรียบเทียบของ 2 สิ่ง ที่มีความแตกต่างกัน
-เรขาคณิต:รูปร่างรูปทรง และทิศทางต่างๆ
-การจับคู่
-การจำแนก:การจัดหมวดหมู่สิ่งของ
-พีชคณิต:รูปแบบความสัมพันธ์2แกน : อาจารยได้ยกตัวอย่าง การแบ่งเค้ก 1 ชิ้น ให้เด็ก 3 คน เท่าๆกัน เพื่อนในห้องคิดได้ 3 วิธี คือ
1.แบ่งเค้กออกเป็น 3 ส่วนรูปตัว Y
2.แบ่งเค้กออกเป็น 4 ส่วน แต่ส่วนที่ 4 แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
3.แบ่งออกเป็น 4 ส่วนและตัดออกเป็น 3 ชั้น ก็จะได้ 12 ชิ้น

ครั้งที่ 13 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555

-วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มดูแผนของตัวเอง ว่าสอดคล้องตามมาตรฐานหรือตัวชี้วัดของกรอบมาตรฐาน ข้อไหนบ้าง
-อาจารย์ให้คำแนะนำกลุ่มที่แผนยังบกพร่อง
-อาจารย์พูดถึงอุปกรณ์ที่จะใช้ในการสอบสอน ซึ่งอุปกรณ์ของกลุ่มดิฉันใช้ ได้แก่
กระดาษชาร์ต
กระดาษแข็ง เทา - ขาว
ปากกาเคมี ไม่บรรทัด กาว2 หน้า
-ผลไม้สด
อาจารย์บอกว่า อุปกรณ์บางอย่างอาจารย์จะเตรียมมาให้ และอันไหนที่นักศึกษามีหรือหามาได้ ก็ให้นำมาด้วย

ครังที่ 12 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555

(อาจารย์ชดเชยให้)
-อาจารย์ตรวจแผน และ ให้ข้อคิดเห็นแผนการสอนของแต่ละคนในกลุ่ม
-หน่วยของกลุ่มดิฉัยยากเกินไป ดิฉันจึงเปลี่ยนหน่วย จากหน่วยแตงโม มาเป็น หน่วยผลไม้
-อาจารย์ให้แนวทางในการเขียนแผน และแก้ไข

ครั้งที 11 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555

-อาจารย์พูดถึงการปรับ แก้ไข แผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ให้ทุกกลุ่มนำแผนเก่าและแผนใหม่ เย็บรวมกัน แล้วให้ถ่ายเอกสาร เก็บไว้ที่ตัวเองด้วย
-ทุกกลุ่มส่งแผนกับอาจารย์
-อาจารย์ให้ทุกกลุ่มเขียนอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการสอนตามแผนที่ตัวเองเขียน

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 10 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555















คณิตศาสตร์กับศิลปะ


วันนี้อาจารย์ยกตัวอย่างแผนการสอนของเพื่อนให้ดู


ความรู้ที่ได้ในวันนี้


กิจกรรมศิลปะตามกรอบมาตรฐาน

1.จำนวน

2.การวัด

- การหาค่า

-การตวง

-ความยาว

-น้ำหนัก

-เวลา


1.กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา

2.กิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน


กิจกรรมเคลื่อนไหว

วัตถุประสงค์

-ฟังและปฏิบัติตามจังหวะ

-ฟังและปฏิบัติตามคำบรรยาย

-เคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์

-คำสั่ง

-เคลื่อนไหวประกอบเพลง

ครั้งที่ 9 วันที่ 31 มกราคม 2555

หน่วยที่จะสอน
-ความต้องการ
-อาหาร
-เด็ก
-กิจกรรม
-ครอบครัว
-พัฒนาการ
-การเล่น
-สุขภาพ

ตัวเด็ก ---> ร่างกาย --->อาหารน่ารู้
--->ข้อมูลส่วนตัว
--->ความสามารถ
--->เด็กดี

แนวทางการจัดประสบการณ์ที่ครูวางแผนและเกิดขึ้นกระทันหันโดยเด็กอยากรู้ โดยให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยยตนเองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เพื่อให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
1.ด้านร่างกาย--->การเคลื่อนไหว
2.ด้านอารมณ์-จิตใจ--->ทำกิจกรรมอย่างอิสระ
- ได้แสดงออก
-ได้รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น
3.ด้านสติปัญญา--->การคิดและการใช้ภาษา
- เชิงเหตุผล(คณิต-วิทย์)
-สร้างสรรค์
4.ด้านสังคม

การเรียนรู้ = การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
มาตรฐาน = เกณฑ์ขั้นต่ำ
มาตรฐานการเรียนรู้=เกณฑ์ขั้นต่ำในการเรียนรู้ของเด็ก
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
1.จำนวน
2.การวัด
3.เรขาคณิต
4.พีชคณิต
5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6.ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

เปรียบเทียบจำนวน
1.เปรียบเทียบสิ่งต่างๆไม่เกิน5
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระการเรียน
จำนวน
-การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ 3 4 5 ปี
-การอ่านตัวเลข
-การเขียนไทย อารบิก
-การเปรียบเทียบจำนวน
-การเรียงลำดับจำนวน
การรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม
-การรวมสิ่งต่างๆ2กลุ่มที่ผลรวมไม่เกิน10
-แยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ไม่เกิน10

ครั้งที่ 8 วันที่ 24 มกราคม 2555

การบ้าน

1.พิมพ์ชื่อเล่น(แอ๊ปเปิ้ล) กับ ชื่อจริง(อภิญญา) ตัวหนังสือขนาด 36 นิ้ว
2.พิมพ์เลขที่ (5) ตัวหนังสือขนาด28นิ้ว กระดาษขนาด 1นิ้วครึ่ง
3.พิมพ์วันที่ตัวเองได้(วันพฤหัสบดี) ขนาดตัวหนังสือ 28 นิ้ว กระดาษขนาด 1x1นิ้วครึ่ง
4.ตัดกระดาษสี (สีส้ม) ขนาด 2x4นิ้ว

ทั้งหมดนี้ติดลงในกระดาษ เทา-ขาว

ครั้งที่ 7 วันที่ 17 มกราคม 2555

ไป ปฏิบัติการวิชาชีพครู 1 ที่โรงเรียนอนุบาลนนทบุรี

ครั้งที่ 7 วันที่ 17 มกราคม 2555

ไป ปฏิบัติการวิชาชีพครู 1 ที่โรงเรียนอนุบาลนนทบุรี

ครั้งที่ 6 วันที่ 10 มกราคม 2555

ไป ปฏิบัติการวิชาชีพครู 1 ที่โรงเรียนอนุบาลนนทบุรี

ครั้งที่ 5 วันที่ 3 มกราคม 2555

หยุด ปีใหม่

ครั้งที่ 4 วันที่ 27 ธันวาคม 2554

ประโยชน์ของแตงโม (กิจกรรม cooking ทำน้ำผลไม้)

ด้านร่างกาย
-เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่
-เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกาย

ด้านจิตใจ-อารมณ์
-เด็กสนุกสนานเพลิดเพลิน
-เด็กรู้จักการควบคุมตนเอง

ด้านสังคม
-เด็กทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม
-เด็กกล้าแสดงออก
-เด็กได้มีส่วนร่วม

ด้านสติปัญญา

ความคิดสร้างสรรค์
-สามารถบอกส่วนประกอบของน้ำผลไม้รสชาติอื่นได้
-สามารถบอกรสชาติของน้ำผลไม้ที่ตนเองชืื่นชอบได้

ภาษา
-เด็กพูดแสดงความรู้สึก
-ฟังและปฏิบัติตามคำสั่งได้
-เกิดการสนทนาโต้ตอบซักถามกันระหว่างเด็กกับครูและเด็กกับเด็ก

คณิตศาสตร์
-เด้กรู้จักการตวง
-เด็กรู้จักปริมาณ
-เด็กรู้จักการเพิ่ม-ลด

วิทยาศาสตร์
-เกิดการได้ทดลอง
-รู้จักส่วนประกอบของน้ำผลไม้

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 3 วันที่ 20 ธันวาคม 2554

ความสำคัญ = เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา การใช้ชีวิตประจำวัน

จิตวิทยา = เด็กมีการเรียนรู้อย่างไร เพื่อจะได้ตอบสนองได้ถูกต้อง

นักการศึกษา(พัฒนาการทั้ง4 ด้าน)
-กีเซล
-ฟรอยด์
-อิริคสัน
-เพียเจท์
-ดิวอี้

1. การรู้จักตัวเลข= พูกปากเปล่า รู้ค่ารู้ความหมายของตัวเลขจาการนับ เรียงลำดับ(เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว)
2.รูปร่างรูปทรง = มีสัญลักษณ์
3.การนับ = นับปากเปล่า นับแบบจำนวนและค่า
4. การชั่ง ตวง วัด = ค่า (ตัวเลข) จำนวน ปริมาณ
5. การเพิ่มและลดจำนวน = เพิ่มทีละ/ ลดทีละ (ไปทีละขั้น)
6.รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
7. การจำแนกประเภท = เอาออก
8. การจัดหมวดหมู่
9.การเปรียบเทียบ = เหมือน/ต่าง
10. เรียงลำดับ
11. เวลา/พื้นที่

การนับ หมายถึง คณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมายเช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1-10หรือมากกว่านั้น
ตัวเลข หมายถึง การให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน

**อาจารย์สั่งการบ้าน(งานกลุ่ม)**
จับกลุ่ม 5คน 1หน่วย แตกเนื้อหาให้เหมาะสมแล้ววางแผน เนื้อหาไหนอยู่ จ-ศ ใครรับผิดชอบ

ครั้งที่ 2 วันที่ 13 ธันวาคม 2554

คณิตศาสตร์ คือ เครื่องมือในการเรียนรู้
คณิศาสตร์สำคัญอย่างไร?
-เป็นเรื่องที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินทาง การวางแผน
-เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์--->เกณฑ์การเรียนรู้คณิศาสตร์เพื่อให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียน

กิจกรรมที่สัมพันธ์กับเวลาจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ความสัมพันธ์ได้อัตโนมัติเช่น การนับ การเปรียบเทียบ
ตัววัดทางคณิตศาสตร์
-ปริมาณ
-จำนวน : การให้เด็กนับจำนวนสมาชิกในกลุ่ม
-เปรียบเทียบ : เปรียบเทียบดอกไม้ 2 ดอก
-รูปร่างรูปทรง
-ลำดับ

ครั้งที่ 1 วันที่ 6 ธันวาคม 2554

อาจารย์ปฐมนิเทศและชี้แจงรายละเอียดแนวการสอนวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และให้ไปหาหนังสือที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์โดยให้หา - ชื่อหนังสือ
- ชื่อผู้แต่ง
-เลขหนังสือ
-เลขทะเบียน